วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เอื้องผึ้ง







วิชา สุนทรียศาสตร์

1. สุนทรียศาสตร์หมายถึงอะไร
สุนทรียศาสตร์ หมายถึงวิชาว่าด้วยความงาม ซึ่งครอบคลุมถึงความงามในธรรมชาติ และความงามในผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นงานศิลปกรรม ตลอดจนความงามของขบวนการสร้างผลงานนั้นๆด้วย
2. ประโยชน์ของวิชาสุนทรียศาสตร์
1. ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงาม อย่างสมเหตุสมผล
2. ช่วยกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล
3. สร้างเสริมประสบการณ์สุนทรียให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
4. ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
5. ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง และการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน
3. สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างใรต่อวิชาชีพพยาบาล
1. ช่วยให้ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล สามารถใช้ทั้งศาสตร์และศิลปในการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม
2. ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล มีกระบวนการคิดอย่างสมเหตุสมผล
3. ช่วยกล่อมเกลาให้ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผผล
4. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลเห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง และการบูรณาการ เพื่อการประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์กับชีวิต
ปร จำวันด้วยเหตุผล
สถาปัตยกรรม ( Architecture )
ป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการก่อสร้าง สิ่งก่อสร้าง อาคารที่อยู่อาศัยต่างๆ การวางผังเมือง การจัดผังบริเวณ การตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ผู้สร้างงานจำนวนมากและเนงานศิลปะที่อยู่ยืนยาว สถาปัตยกรรมเป็นวิธีการจัดสรรบริเวณที่ว่างให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ วึ่งเกี่ยวกับศาตร์ในสาขาต่างๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มนุษยวิทยาและศิลปะ ความงาม และคุณค่าของสถาปัตยกรรมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังนี้
1. การจัดสรรบริเวณที่วางให้สัมพันธ์กันของส่วนต่างๆทั้งภายในและภายนอก
2. การจัดรูปทรงของสถาปัตยกรรมให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและสิ่งแวดล้อม
3. เลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกลมกลืน
สถาปัตยกรรมแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ หรือประกอบกิจกรรมต่างๆเช่น อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร ศาลา
2. ชนิดสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างอื่นๆ เช่น อนุสาวรีย์ เจดีย์ สะพาน เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์งานศิลปกรรมเรียกว่า สถาปนิก ( Architect )
สถาปัตยกรรมเกี่ยวกับอาคารที่อยู่อาศัย
เรือนไทย



คนไทยในอดีตยึดถือธรรมชาติเป็นแม่บทพื้นฐานในการดำเนินชีวิตเป็นสำคัญ โดยการปรับตัวให้สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ การสร้างสรรค์ศิลปกรรม หรืองานช่างต่าง ๆ จึงแฝงไปด้วยปัญญาแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีเอกลักษณ์ที่แสดงออกถึงชีวิตจิตใจของคนไทยเรือนไทยpสมัยโบราณ ซึ่งใช้เป็นอาคารพักอาศัยที่เห็นกันอยู่นั้น มักจะแสดงถึงระเบียบแบบแผนการอยู่ดีกินดีของชาติไทยว่าเป็นอย่างไรอย่างชัดเจน อาคารแบบเรือนไทยส่วนมากสร้างด้วยไม้ เนื่องจากอิทธิพลทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ ไม้เป็นสิ่งที่หาได้ง่ายและใช้สะดวกตามวิธีการของช่างในสมัยนั้น สำหรับธาตุของไม้เมื่อเปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมที่ทำด้วยโครงสร้างถาวร เช่น ปูน หรือคอนกรีต ย่อมมีอายุน้อยกว่า จึงหาหลักฐานดั้งเดิมได้ยาก นอกจากได้มาจากตำนานของโบราณเท่านั้น จะเห็นว่าโบสถ์วิหารในสมัยอยุธยาที่เหลืออยู่ เราก็ทราบเรื่องราวได้จากบันทึกทางประวัติศาสตร์หรือหลักฐานจากซากปรักหักพังนั่นเอง
เรือนไทยเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ยกพื้นสูง ใต้ถุงโปร่ง มักสร้างเป็น 3 ช่วงเสา ฝาเป็นกรอบใส่ลูกฟักที่เรียกว่า ฝาปะกน คูหาหนึ่ง ๆ มีหน้าต่างขนาดเล็กและแคบปิดเข้าภายในโดยตั้งอยู่บนเดือยไม้ ประตูก็สร้างด้วยวิธีเดียวกัน ฝาตั้งอยู่บนพรึงโดยรอบ 4 ด้านระเบียงสร้างขนานไปตามความยาวของตัวเรือน หลังคาหน้าจั่วทรงสูงคลุมลงมาถึงส่วนที่เป็นระเบียง มีนอกชานเป็นพื้นที่ติดต่อถึงห้องครัว ซึ่งอาจทำเป็นครัวแยกออกไปต่างหาก เราจะเห็นได้ว่าเรือนไทยสร้างขึ้นตามสภาพแวดล้อมทางภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศจึงมีลักษณะดังกล่าวแล้ว ขนบธรรมเนียมประเพณีในความเป็นอยู่รวมทั้งนิสัยใจคอของชาวไทยก็มีส่วนประกอบให้เกิดรูปแบบของเรือนพักที่ค่อนข้างตายตัวพอที่จะยึดเป็นหลักเกณฑ์ได้ การปลูกสร้างเรือนไทยแต่เดิมมาเป็นแบบสำเร็จรูป ซึ่งแสดงถึงสภาพทาสังคมที่มีส่วนทำให้เกิดรูปแบบในการก่อสร้างขึ้น
สำหรับลักษณะของการวางอาคารและขนาดเรือนนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนคนอาศัยและทุนทรัพย์ตามปกติถ้าบ้านหนึ่งอยู่รวมกัน 2 ครอบครัว ก็สร้างเรือนเพิ่มขึ้นอีกหลังหนึ่งทางด้านใดด้านหนึ่งของอาคารหลังแรก เรือนขนาดใหญ่ก็จะสร้างตัวเรือนทำนองนี้ นอกจากนั้นก็ยังมีอาคารอื่นสร้างเรียงข้าง คือ หอนั่ง ศาลาพักร้อนในสวน เรือนนกเขา ศาลาท่าน้ำ ฯลฯ ล้วนแต่มีลักษณะไทย จะเห็นได้ว่าเรือนไทยสมัยโบราณได้มีวัฒนธรรมอย่างสูงมาแล้ว ดังปรากฏอยู่ในแบบบ้านไทยอย่างสมบูรณ์
แผนผังของเรือนหมู่โดยมากจะมีเรือนหลักอยู่กลาง ซึ่งเป็นเรือนดั้งเดิมของพ่อแม่หรือเรือนประธานซึ่งเรียกว่า หอกลาง เป็นเรือนขนาดใหญ่ 3 – 5 ห้อง ต่อมาจะมีเรือนอยู่ข้างหอกลางไปทางซ้ายและขวาเรียกว่า หอรี ซึ่งทำหน้าที่เป็นครัวไฟ และเรือนของลูกที่ออกเรือนไป ส่วนที่อยู่ถัดหอรีออกไปเป็นเรือนปลูกตามขวางเรียกว่า หอขวาง และมักเป็นเรือนขวางตะวัน จึงไม่ใช่เป็นเรือนนอน คงปล่อยโถงไว้กั้นฝาสามด้านสำหรับแขก เมื่อมีเรือนปลูกกันเป็นหมู่ ชานเรือนก็จะต้องติดต่อถึงกันและมีบริเวณกว้างมาก จึงปลูกเป็นเรือนโถงขึ้นที่กลางชาน สำหรับนั่งเล่นและใช้เวลามีงาน เช่น สวดมนต์เลี้ยงพระ เรียกว่า หอนั่ง เรือนหลังนี้ถ้าปล่อยไว้โล่ง ๆ ด้านหลังหอนั่งจะทำเป็น หอนกและปลูกเป็นร้านต้นไม้เลี้ยง ไม้ดอกไม้ใบต่าง ๆ

ลักษณะของเรือนไทย
1. ลักษณะโครงสร้างง่าย ๆ และเปิดเผย ไม่มีห้องสลับซับซ้อน เปิดเผยขึ้นส่วนโครงสร้างอย่างชัดเจน เช่น ขื่อท แป อกไก่ ฯลฯ
2. นิยมสร้างอาคารชั้นเดียวใต้ถุนสูง บ้านชั้นเดียวจะให้ความรู้สึกปลอดโปร่ง สงบและมั่นคง ประกอบกิจกรรม หรือพักผ่อนรับลมเย็นได้ตามธรรมชาติ และใต้ถุนสูง ยังป้องกันน้ำท่วมได้ด้วย
3. มีประตูหน้าต่างเล็กแคบ เพื่อป้องกันไม่ให้แสงสว่างผ่านเข้ามามากเกินไป ช่วยลดความร้อนอบอ้าวจากแดด หากเป็นอาคารทางศาสนา จะช่วยให้บรรยากาศเงียบสงบ ก่อให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใส
4. หลังคาสูง จะช่วยให้น้ำฝนไหลลงอย่างรวดเร็ว ให้น้ำไม่ขัง หลังคาไม่รั่ว พื้นที่ภายในหลังคาสูงโปร่ง ช่วยระบายอากาศร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังมีกันสาดป้องกันน้ำฝนและแสงแดดผ่านเข้าไปในตัวบ้าน
5. พื้นบ้านต่างระดับช่วยระบายอากาศ และทำให้มองเห็นทัศนียภาพใต้ถุน ทั้งยังได้ใช้เป็นที่นั่งหย่อนขาในอิริยาบถที่สบายได้ด้วย
6. สร้างหลังคาซ้อนกันหลายชั้น เพื่อให้เกิดความงามในจังหวะ เกิดความรู้สึกสง่างามและมีความมั่นคง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบเรือนไทย
1. สนองประโยชน์ใช้สอย ตามความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ รักสันโดษ
2. ความผูกพันกับธรรมชาติ เชื่อว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
3. ดินฟ้าอากาศที่ร้อนอบอ้าว ความชื้นสูง ฝนชุก แดดแรง
4. อาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม
5. คตินิยมทางศาสนา ประเพณี และไสยศาสตร์
6. วัสดุที่ใช้ในการปลูกสร้าง ได้แก่ ไม้