วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เอื้องผึ้ง



ประวัติของข้าพเจ้า
นางสังวาลย์ หาญณรงค์
นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณพิต ( ต่อเนื่อง ) รุ่นที่ 16

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
มาศึกษาที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรีเพื่อนำควงามรู้ไปพัฒนาตนเอง พัฒนาหน่วยงานที่ทำงานเพื่อให้เกิดการ
พัฒนาอย่างต่อเนื่องกับประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง มีการสร้างสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า


คำถามเรื่องคุณค่า

1. ถ้าคุณค่าหมายถึงคุณสมบัติ เช่น ของเหลว ร่วน แข็ง ก็ย่อมเป็นลักษณะของคุณค่าด้วย
- ใช่ เพราะการที่มนูษย์จะประเมินคุณค่าหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่ามีคุณค่านั้นจะต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 อย่างคือ
1. คุณค่าในตัวบุคคลผู้ประเมิน
2. คุณค่าของสิ่งเร้า
3. คุณค่าในตัวของมันเอง
เช่น น้ำ ดิน หิน ซึ่งเป็นของเหลว เป็นคุณสมบัติของน้ำ ความร่วนเป็นคุณสมบัติของดิน ส่วนความแข็งเป็นคุณสมบัติของหิน ซึ่งวัตถุสิ่งเหล่านี้มีคุณค่าในตัวเอง นำไปใช้ประโยชน์หรือเป็นแหล่งอาศัยและใช้ในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งมนุษย์ก็สามารถนำคุณสมบัติของน้ำ ดิน หิน มาใช้ประโยชน์ได้

2. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองเป็นคนละเรื่องกับคุณสมบัติ คุณค่าควรจะอยู่ที่ไหน
- อยู่ในตัวผู้ประเมินเอง คืออยู่ที่คนมองว่าสิ่งนั้นมีความงามหรือเห็นคุณค่าที่เรามองเห็นหรือไม่ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอารมณ์และความรู้สึกของคนมองนั่นเอง

3. ถ้าคุณค่าในตัวมันเองหมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่นคุณค่าจะเกิดขึ้นลอยๆ โดดๆไม่ได้ และจะต้องรับผลต่อสิ่งนั้นด้วยหรือไม่
- ใช่ เพราะคุณค่าในตัวของมันเองต้องมีสัมพันธ์และมีประโยชน์ต่อสิ่งอื่น ด้วยสิ่งเหล่านี้ถึงจะมีคุณค่ามากที่สุด

4. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองหมายถึงการดำรงชีวิตอยู่โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด คุณค่าในตัวของมันเองจะมีหรือไม่
- บางครั้งการมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีคุณค่าได้นั้นไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับสิ่งใดหรือมีประโยชน์ต่อการดำราชีวิตการมีมันอยู๋โดดๆก็ย่อมมีคูรค่าได้เช่นกัน ถ้าหากการมองโดยใช้ความรู้สึกเป็นเครื่องมือในการรับสัมผัสถึงคุณค่าของมันก็จะทำให้เราเกิดความพอใจ เกิดความชื่นชมสิ่งนั้นได้ ซึง
คณค่าอยู่ที่การมองนั่นเอง

5. การพิจารณาปัญหาคุณค่าแบบโดดๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดจะมีผลต่อการพิจารณาปัญหาอื่นๆหรือไม่
- การที่จะตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าเกิดขึ้นแบบโดดๆนั้นมีผลต่อการพิจารณาปัญหาอื่นๆได้เพราะบางครั้งการที่วัตถุหรือบุคคลจะมีคุณค่าจะต้องขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมด้วยเช่น คนเลวเมื่อได้รับการอบรมบมนิสัย อาจจะเปลี่ยนทัศนคติใหม่ เขาอาจกลายเป็นคนดีและมีคุณค่าขึ้นมาได้ เมื่องานศิลปได้รับการตกแต่งหรือมีการศึกษาพัฒนา หรือถ่ายทอดงานศิลปนั้นให้คนอื่นงานศิลปก็จะมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น




Sydney-opera-house


โอเปร่าเฮ้าส์ สัญลักษณ์ของนครซิดนีย์ แห่งออสเตรเลีย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก โอเปร่าเฮ้าส์ ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี 2516 หรือ 34 ปีก่อน ออกแบบโดย ยอร์น อุดซอน สถาปนิกชาวเนเธอร์แลนด์ คณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโกซึ่งประชุมกันที่เมืองไครสท์เชิร์ช ของนิวซีแลนด์ มีมติให้โอเปร่าเฮ้าส์เป็นหนึ่งในสถานที่ทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ 4 แห่ง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยให้เหตุผลว่า โอเปร่าเฮ้าส์ เป็นสถาปัตยกรรมยิ่งใหญ่สมัยศตวรรษที่ 20 ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมได้อย่างกลมกลืน มีสภาพภูมิทัศน์ริมน้ำที่โดดเด่น หันหน้าไปสู่สะพานฮาร์เบอร์ และมีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมมายาวนาน ส่วนสถานที่ทางวัฒนธรรมอีก 3 แห่ง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ได้แก่ ป้อมแดงในอินเดีย เหมืองแร่เงินอิวามิกินซัง ในญี่ปุ่น และป้อมพาร์เธียนแห่งนิซา ในเติร์กเมนิสถาน